ไปบึงกาฬกันไหม

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

อิอิอิ Bung kan fc



นี้แค่ตัวอย่างที่เขาส่งประกวดนะคับ

เจ้าแม่ประดู่ทอง



ตัวเรือ : เจ้าแม่กระดิ่งทอง คุ้มป่าหลวง จ.หนองคาย
ช่างตกแต่งเรือ : ช่างสงวน ศูนย์นพพา
ฝีพาย : หน่วยต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ สัตหีบ
ผลงาน :

•แชมป์ วัดพระยาตาก จ.ชัยนาท
•แชมป์ เขื่อนระบำ อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี
•แชมป์ คลองตาขำ ชลประทานดี 7 จ.สมุทรสาคร
•แชมป์ แม่น้ำปิง จ.กำแพงเพชร
•แชมป์ วัดหัวดง จ.พิจิตร
•แชมป์ อบจ.หนองคาย จ.หนองคาย
•แชมป์ เรือมาราธอน จ.นนทบุรี
•แชมป์ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา


ความพร้อม : เจ้าแม่ประดู่ทอง.. สนามนี้มีเซอร์ไพรส์ ใช้ตัวเรือ "เจ้าแม่กระดิ่งทอง" คุ้มป่าหลวง จ.หนองคาย.. หลังจากที่เคยพายประสบความสำเร็จมาแล้ว ในงาน อบจ.หนองคาย ในนาม "เจ้าแม่กระดิ่งทอง" คงจะติดอกติดใจเรือลำนี้ ถึงได้นำมาเล่นในลำน้ำเจ้าพระยาแห่งนี้ พูดถึงประดู่ทอง มักทำอะไรเกินคาดหมาย จำได้ไหมปีที่แล้วใช้ตัวเรือ "สาวดวงแก้ว 2" ในนาม "เจ้าแม่ประดู่ทอง" ลงทำการแข่งขัน ฝีพายดึ ฝึกใหม่ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในปีนี้ ช่วงต้นฤดูกาลแรกร้อนแรงมาก คว้าแชมป์ติดต่อกันหลายสนาม จากนั้นมมาคว้าแชมป์ เรือมาราธอน สร้างประวัติศาสตร์ ได้ แล้วมายิ่งใหญ่อีกทีที่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา พวกเขาเอาชนะเทพนรสิงห์ 88 คว้าแชมป์ไปครองแบบสุดมันส์

ยุทธการนาวา

ตัวเืรือ : ขุนราม
ช่างตกแต่งเรือ : ช่างอ๊อด-เล็ก หนองดินแดง
ฝีพาย : ทีมชาติไทยชุดกวางโจวเกมส์+หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ+ย่าคำไหล
ผลงาน :
•แชมป์ จ.สิงห์บุรี
•แชมป์ จ.อุบลราชธานี
•แชมป์ บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์
•รองแชมป์ วัดท่าฬ่อ จ.พิจิตร
•รองแชมป์ ลำน้ำปิง จ.กำแพงเพชร
•รองแชมป์ วัดบางนานอก เขตบางนา กทม.
•รองแชมป์ เทศบาลตำบลหอคำ จ.หนองคาย
•รองแชมป์ วัดกำแพงดิน จ.พิจตร
•อันดับ 3 จ.ฉะเชิงเทรา
•อันดับ 3 วัดท่าหลวง จ.พิจิตร
•อันดับ 4 วัดหัวดง จ.พิจิตร
•อันดับ 4 อ.เสาไห้ จ.สระบุรี


ความพร้อม : "ยุทธการนาวา" กลับมาอีกครั้งในปีนี้.. ใช้ฝีพายหลักๆ จากชุดปีที่แล้วในนาม "กรุงเทพมหานคร" ชุดที่ติดทีมชาติไทยไปกวางโจวเกมส์ หรือฉายา "มนุษย์กบ" ที่แฟนเรือยาวทุกท่านรู้ัจัก หลังจากนั้นท่าพายสไตล์การพายได้เผยแพร่หลายไปในหลายๆ ทีมในปีนี้ จนสร้างผลงานผิดหูผิดตา "ยุทธการนาวา" ในปีนี้ลงน้ำแรกที่วัดท่าฬ่อ โดยการนำของ พลเรือตรีวินัย กล่อมอินทร์ โดยการสนับสนุนของตัวเรือจาก "โค้ชไพรินทร์" นำลำ "ขุนราม" ตกแต่งใหม่จากช่างอ๊อด-เล็ก หนองดินแดง บวกกับตัวเรือและสไตล์การพายน่าจะไหลลื่นในปีนี้ ในระยะแรกในปีนี้ ไม่มีชุดทีมชาติไทยเลยแม้นิดเดียว..เป็นการสร้างทีมใหม่ของ "มนุษย์กบ2010" เล่นมาตลอด หากฝีพายไม่พอก็จะเอาพันธมิตรที่เคยฝึกท่ากบในปีนี้มาร่วมพาย เช่น ชุดเทพประทานพรร่วมพายที่ อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย ชุดย่าคำไหลร่วมพายที่ ต.หอคำ จ.หนองคายและอุบลราชธานี จนประสบความสำเร็จคว้าแชมป์แรกที่ จ.สิงห์บุรี หลังจากนั้นอาทิตย์นึงก็ไปคว้าแชมป์ที่อุบลราชธานี ก่อนมาพายให้ "หนุ่มเมืองนนท์TOT3G" คว้าแชมป์ที่ท่าน้ำนนท์ ซึ่งเป็นการนำทีมชาติไทยชุดก่อนไปกวางโจวเกมส์มาลงน้ำแรกที่นี่.. หลังจากกลับจากกวางโจวเกมส์ มาลงแข่งอีกที่ที่วัดบางนานอก เขตบางนา แพ้อัครนาวา ในรอบชิงชนะเลิศ ก่อนมาพายคว้าแชมป์อีกทีที่บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์.. พระราม ๘ ปีนี้จำกัดโควต้าทีมชาติไทย ประเทใหญ่ 55 ฝีพาย จำนวน 12 คน. .. จำเป็นที่จะต้องหาตัวจัด ๆ แข็ง ๆ จากชุดที่ไม่ใช่ทีมชาติก็ดี หรือว่าชุดทีมอื่นที่พายสไตล์เดียวกันมาปรับพายกัน นำชุดจากอุบลราชธานีบางส่วนมา อาทิเช่น ยาคำไหล, ขุนทัพ(โค้ชเบียร์) มารวมกัน ปัจจุบันซ้อมอยู่ที่อ่างเก็บน้ำมาบประชัน เมืองพัทยา

เทพนรสิงห์ 88


ตัวเรือ : เทพนรสิงห์ 88
ช่างตกแต่งเรือ : ช่างสงวน ศูนย์นพพา
ฝีพาย : พิจิตร
ผลงาน :

•แชมป์ วัดท่าหลวง จ.พิจิตร
•แชมป์ ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษบางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
•แชมป์ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี
•แชมป์ เทศบาลตำบลหอคำ จ.หนองคาย
•แชมป์ อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย
•รองแชมป์ วัดหัวดง จ.พิจิตร
•รองแชมป์ คลองชลประทานดี7 จ.สมุทรสาคร
•รองแชมป์ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
•รองแชมป์ อ่างเก็บน้ำมาบปะชัน เมืองพัทยา
•อันดับ 4 บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์



ความพร้อม : "เทพนรสิงห์88" อ.เสาไห้ จ.สระบุรี "พยัคฆ์ร้ายไม่มีวันตาย" อดีตแชมป์ปี 2545-2547 พระราม ๘ กทม. ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการครองถ้วยพระราชทาน 3 ปีติดต่อกัน สะพานพระราม ๘ ตั้งแต่เริ่มจัดการแข่งขันขึ้นมา.. ครั้งนี้กลับมาอีกครั้ง หลังจากเว้นว่างห่างหายไปหลายปี ในการสนับสนุนของบริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด ในปีนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูงใช้ชุดฝีพาย จ.พิจิตร โดยการนำของ ดร.เบื้อก นำฝีพายฉกาจฉกรรจ์ของจังหวัดพิจิตรรวมตัวกันในนาม "ดรีมทีม" ในช่วงเดือนกันยายนสามารถกวาดได้ทุกสนาม ตั้งแต่ พิจิตร, บางไทร, บึงกาฬ, หอคำ, เสาไห้ ช่วงนั้นฮอตมากก่อนที่ระยะหลังๆ ตุลาคม-พฤศจิกายน.. ฟอร์มเริ่มขาดหายไปเนื่องจากฝีพายติดทำนาในช่วงเดือนดังกล่าว ก่อนทำได้ดีที่สุดเป็นรองแชมป์ที่พิมายแพ้ต่อ "เจ้าแม่ประดู่ทอง" และแพ้ต่อ "อัครนาวา" อ่างเก็บน้ำมาบปะชัน

สรุปผลการแข่งขันเรือยาวประเพณีไทย-ลาว ครั้งที่ 12 จ.บึงกาฬ




สรุปผลการแข่งขันเรือยาวประเพณีไทย-ลาว ครั้งที่ 12 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ณ แม่น้ำโขงหน้าเทศบาลตำบลบึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ
ระหว่างวันที่ 9-11 กันยายน 2554


ประเภท55ฝีพาย ทั่วไป ก.
1.เทพนรสิงห์๘๘ จ.สระบุรี ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
2.ยุทธการนาวา จ.ชลบุรี
3.เจ้าแม่ประดู่ทอง สอรฝ. กองทัพเรือ จ.ชลบุรี
4.เอกชัยนาวา ต.กวนวัน อ.เมือง จ.หนองคาย

ประเภท55ฝีพาย ทั่วไป ข.
1.เศรษฐีเรือทอง วัดพุน้อย จ.ลพบุรี
2.นครนาวา วัดประชาอุปถัมป์ จ.หนองคาย
3.เกรียงเดชรัต(ชาติเสือ) จ.ราชบุรี
4.พรพระปิยะ วัดบ้านกุดชุม จ.อุบลราชธานี

ประเภท55ฝีพาย ภายใน
1.จ้าววายุ วัดป่าวิมุติตาราม ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ
2.เจ้าพ่อจงใจหาญ บ้านาโนน
3.ว.เพชรนารินทร์ วัดเหนือ
4.พระยาคำแสน วัดใต้

ประเภท25ฝีพาย
1.ธิดาสว่างลาด แขวงบลิคำไซ สปป.ลาว ครองถ้วยพระราชทานสทเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ
2.เทพบุตรหอคำ บ้านหอคำ จ.บึงกาฬ
3.เทพณรงค์ วัดป่าวิมุตาราม จ.บึงกาฬ
4.เพชรณรงค์ บ้านชัยพร จ.บึงกาฬ


วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

การแข่งขันเรือยาวประเพณีไทย –ลาว ครั้งที่ 12 ประจำปี 2554





จังหวัดบึงกาฬ ขอเชิญชมงานแข่งขันเรือยาวประเพณีไทย-ลาว ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 12 ประจำปี 2554 พร้อมเงินรางวัลกว่า 1 ล้านบาท ในระหว่างวันที่ 9 – 11 กันยายน 2554 ณ แม่น้ำโขง หน้าสำนักงานเทศบาลตำบลบึงกาฬ อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ ร่วมชมพิธีอัญเชิญถ้วยพระราชทานฯ อย่างยิ่งใหญ่ตระการตา ในพิธีเปิดงาน วันที่ 10 กันยายน 2554 เวลา 09.00น. ร่วมชมและเชียร์สุดยอดเรือจากกลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย และแขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว เลือกชมและซื้อสินค้า OTOP ติดแอร์ ของจังหวัดบึงกาฬและเครือข่ายทั่วประทศไทย รับประทานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย กว่า 100 ร้านค้า บนถนนอาหาร และสิงค้าราคาถูกจากโรงงานมากมาย ร่วมฉลองความยินกับจังหวัดบึงกาฬทั้งนี้จะมีการถ่ายทอดสดพิธีดังกล่าวทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ขอนแก่น ในวันที่ 10 กันยายน 2554 เวลา 09.00 – 10.00 น. จึงขอเชิญติดตามชมการถ่ายทอดสดโดยทั่วกัน







รายชื่อเรือเข้าร่วมการแข่งขัน เรือยาวขนาดใหญ่ประเภททั่วไป 50 – 55 ฝีพาย

เรือภาคกลาง
1 เรือเทพนรสิงห์ 88(แชมป์เก่า) อ. เสาไห้ จ. สระบุรี
2 เรือเจ้าแม่ประดู่ทอง วัดสุวรรณราชหงส์ ต.องครักษ์ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
3 เรือศรทอง อบจ.พิจิตร อ.เมือง จพิจิตร
4 เรือชาละวันสิงห์ลีโอ อบต ไผ่ขวาง อ.เมือง จ.พิจิตร
5 เรืองเกรียงเดชรัต 7 หมู่ 2 ต. คุ้งพะยอม อ. บ้านโป่ง จ. ราชบุรี
6 เรือเทพธรรมรัต ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี
7 เรือเศรษฐีเรือทอง วัดพุน้อย อ.บ้านหมี่ จ. ลพบุรี

เรือภาคอีสาน
อุดรธานี,สกลนคร,อุบลราชธานีมุกดาหาร , สุรินทร์, นครพนม,ศรีสะเกษ,บุรีรัมย์,ข่อนแก่น
8 เรือเทพแสนชัย วัดโพธิ์ไทร ต.บางทรายใหญ่ อ.เมือง จ.มุกดาหาร
9 เรือพรพระปิยะ วัดบ้านกุดชุม ต.หนองกินเพล อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
10 เรือปฐวีสยาม วัดโพธิ์พฤกษาราม บ้านท่าตูม อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์
11 เรือสาวชุมแพ วัดมหาชาติ บ.โพนสะทอน ต.กุดกว้าง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น
12 เรือเจ้าแม่คำไหล วัดสระพังทอง ต.หนองแวง อ.กันทรารมณ์ จ.ศรีสะเกษ

เรือเขตจังหวัดหนองคาย
13 เทศบาลบึงกาฬ เทศบาลตำบลบึงกาฬ ต. บึงกาฬ อ.บึงกาฬ จ. หนองคาย
14 เรือเอกชัยนาวา เทศบาลตำบลกวนวัน ต. กวนวัน อ. เมือง จ. หนองคาย
15 เรือเทพบุตรหงส์ทอง เทศบาลตำบลหาดคำ ต. หาดคำ อ. เมือง จ. หนองคาย
16 เรือเทพธิดาบัวหลวง ต. กวนวัน อ. เมือง จ. หนองคาย
17 เรือนครนาวา วัดประชาอุปภัมถ์ บ้านพราวเหนือ ต.กวนวัน อ.เมือง จ.หนองคาย
18 เรือเทพฤทธิ์ วัดศาสนกิจ บ้านสะเงียว ต. กวนวัน อ. เมือง จ.หนองคาย

เรือภาคตะวันออก
19 เรือยุทธการนาวา หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ อ. สัตหีบ จ. ชลบุรี
เรือจาก สปป.ลาว
20 เรือเจ้าพ่อคำแดง บ้านกล้วย เมืองปากชัน แขวง บลิคำไซ สปป.ลาว
21 เรือแขวงบลิคำไซ แฃวงบลิคำไซ

เรือยาวใหญ่ประเภทภายในจังหวัดบึงกาฬ 50-55 ฝีพาย

1 เรือพระยาคำแสน(แชมป์เก่า) วัดใต้ ต. บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จ. บึงกาฬ
2 เรือเจ้าพ่อจงใจหาญ บ้านนาโนน ต. บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ
3 เรือ ว.เพชรนารินทร์ วัดเหนือ ต. วิศิษฐ์ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ
4 เรือศรพราช วัดกลาง ต. บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จ. หนองคาย
5 เรือจ้าววายุ วัดป่าวิมุติตาราม บ้านโนนสว่าง ต.บึงโขงหลง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ
6 เรือพรพระใส บ้านหอคำ ต.หอคำ อ.บึงกาฬ จ. บึงกาฬ

เรือยาวเล็กประเภทภายในจังหวัดบึงกาฬ 20 – 25 ฝีพาย

1 เรือเทพบุตรหอคำ บ้านหอคำ ต. หอคำ อ. บึงกาฬ จ. บึงกาฬ
2 เรือเทพราชพฤษ บ.ชัยพร หมู่ 1 ต.ชัยพร อ. บึงกาฬ จ. บึงกาฬ
3 เรือเทพโชติรส บ้านบึงสวรรค์ ต. บึงกาฬ อ. บึงกาฬ จ. บึงกาฬ
4 เรือประทีปนาวา บ้านไคสี ต. ไคสี อ. บึงกาฬ จ. บึงกาฬ
5 เรือขุนศึก วัดโพธาราม บ้านท่าไคร้ อ.บึงกาฬ จ. บึงกาฬ
6 เรือขุนหารนาวา บ้านนาโนน ต. บึงกาฬ อ. บึงกาฬ จ. บึงกาฬ
7 เรือสิงหราช วัดศรีโสภณธรรมทาน (วัดใต้) ต. บึงกาฬ อ. บึงกาฬ จ. บึงกาฬ
8 เรือเทพณรงค์ วัดป่าวิมุตาราม บ้านโนนสว่าง อ. บึงโขงหลง จ. บึงกาฬ
9 เรือเทพเทวี เทศบาลตำบลท่าสะอาด ต.ท่าสะอาด อ. เซกา จ. บึงกาฬ
10 เรือเทพเรืองฤทธิ์ บ้านคำบอน ต.น้ำจั้น อ. เซกา จ. บึงกาฬ
11 เรือนิโคนาวา วัดนิโคธาราม บ.หาดแฮ่ ต.โคกกว้าง อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ
12 เรือเอกภพนาวา วัดสว่างพัฒนา บ.นากั้งพัฒนา ต.นากั้ง อ.ปากคาด จ.บึงกาฬ
13 เรือหงส์ประเสริฐ บ.สุขประเสริฐ ต.นากั้ง อ.นากั้ง อ.ปากคาด จ.บึงกาฬ
14 เรือเทพธิดาดอย วัดจันทร์เดชราษฎร์บำรุง บ.บุ้งคล้าทุ้ง อ.บุ้งคล้า จ.บึงกาฬ

เรือเล็ก 20 – 25 ฝีพาย สปป. ลาว

17 เรือธิดาสว่างลาด บ้านปากทวย เมืองท่าพระบาด แขวงบลิคำไซ สปป. ลาว
18 เรือธิดาสามนาง บ้านหางชิง เมืองปากชัน แขวงบลิคำไซ สปป.ลาว
19 เรือธิดาแก้วฟ้าหยาด บ้านทวยใหญ่ เมืองท่าพระบาด แขวงบลิคำไซ สปป.ลาว
20 เรือเจ้าสินไซ บ้านน้ำเงียบ เมืองปากชัน แขวงบลิคำไซ สปป.ลาว
21 เรือมังกรทอง บ้านท่าบก เมืองท่าพระบาด แขวงบลิคำไซ สปป.ลาว
22 เรือกุหลาบแดง บ้านกล้วย เมืองปากชัน แขวงบลิคำไซ สปป.ลาว
21 เรือเจ้าพ่อหงษ์ทอง บ้านนาจิก เมืองปากชัน แขวงบลิคำไซ สปป.ลาว



ผลการแบ่งสายเรือยาวใหญ่ประเภททั่วไป 55 ฝีพายสนามบึงกาฬ

สาย A
1 เกรียงเดชรัตน์
2 พญาชาละวันสิงห์ลีโอ
3 เทพแสนชัย
4 นครนาวา
5 เทพฤทธิ์นาวา

สาย B
1 เทพนรสิงห์ 88
2 ศรทอง
3 เทพธรรมรัตน์
4 เจ้าแม่คำไหล
5 ยุทธการนาวา

สาย C
1 เศรษฐีเรือทอง
2 พรพระปิยะ
3 เทศบาลบึงกาฬ
4 เทพธิดาบัวหลวง
5 เจ้าพ่อคำแดง

สาย D
1 เจ้าแม่ประดู่ทอง
2 เทพมณีรัตน์
3 เอกชัยนาวา
4 เทพบุตรหงส์ทอง
5 แขวงบลิคำไซ


เรือท้องถิ่น 55 ฝีพาย

สาย A
1 พระยาคำแสน
2 ว.เพชรนารินทร์
3 ศรพราช

สาย B
1 เจ้าพ่อจงใจหาญ
2 จ้าววายุ
3 พรพระใส

เรือ 25 ฝีพาย
สาย A
1 เทพบุตรหอคำ
2 เพชรณรงค์
3 ประทีปนาวา
4 ขุนศึก
5 นิโคนาวา

สาย B
1 เทพโชติรส
2 ขุนหาญ 98
3 สิงหราช
4 เจ้าพ่อหนองแสง
5 หงส์ประเสริฐ

สาย C
1 ธิดาสว่างลาด
2 เจ้าพ่อสิงห์ดำ
3 เทพมังกรทอง
4 เทพเทวี
5 ธิดาดอย

สาย D
1 แก้วฝนหลวง
2 กุหลาบแดง
3 เจ้าพ่อหงส์ทอง
4 เทพณรงค์
5 เทพเรืองฤทธิ์

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แจ้งเกิดเปิดตัวไปรษณีย์จังหวัดที่ 77



ไปรษณีย์ไทย ได้ฤกษ์เลื่อนขั้นไปรษณีย์อำเภอบึงกาฬ เป็นไปรษณีย์จังหวัด พร้อมเผยรหัสไปรษณีย์ใหม่ทั่วทั้งจังหวัด...

วันที่ 29 ส.ค. นางปริษา ปานะนนท์ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารการตลาด บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือ ปณท กล่าวว่า หลังจากบึงกาฬได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นจังหวัดใหม่ลำดับที่ 77 เมื่อต้นปี 2554 ที่ผ่านมา ขณะนี้ไปรษณีย์ไทยได้ปรับสถานะไปรษณีย์อำเภอ เป็นไปรษณีย์จังหวัดบึงกาฬ ทำให้บึงกาฬกลายเป็นไปรษณีย์จังหวัดแห่งที่ 77 ของประเทศไทย พร้อมปรับเปลี่ยนรหัสไปรษณีย์ใหม่ทั้งจังหวัด ได้แก่ อ.เมืองบึงกาฬ และ อ.บุ่งคล้าเป็น 38000 อ.เซกา เป็น 38150 อ.โซ่พิสัย เป็น 38170 อ.พรเจริญ เป็น 38180 อ.ปากคาด เป็น 38190 อ.ศรีวิไล เป็น 38210 และ อ.บึงโขงหลง เป็น 38220 โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.นี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ได้มีการยกสถานะเป็นที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดบึงกาฬอย่างเป็นทางการ ด้วย

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์  วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2554

คลิปพญานาค


แผนที่ท่องเที่ยวจังหวัดบึงกาฬ



ภาพบรรยากาศริมฝั่งโขง




มองไปข้างหน้าเห็นประเทศลาวแขวงปากซัน



ประเพณีแข่งเรือยาว

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวบึงกาฬ

วัดหลวงพ่อพระใหญ่





วัดภูทอก





ศาสเจ้าแม่สองนาง


ร้านอาหาร


ร้านผัดไทย












ร้านผัดไทย…บรรยากาศร่มรื่น ราคาและบริการเป็นกันเอง รสชาติอาหารอร่อย บริการรับทำข้าวกล่อง บริหารงานโดยคุณฤทัย เฟื้องรอด

ชื่อร้าน

ร้านผัดไทย

ที่อยู่

481 ม.7 ต.วิศิษฐ อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย 43140

เบอร์โทรศัพท์

087-078 7281

เวลาให้บริการ

07:00-18:00 น.

ประเภทอาหาร

ผัดไท อาหารตามสั่ง ข้าวมันไก่ ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก

เมนูแนะนำ

ผัดไท อาหารตามสั่ง ข้าวมันไก่ ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก


ร้านอาหาร



ร้านลมโชยปลาเผา….

อาหารรสชาติพื้นบ้าน ปลาเผาสดทุกวัน เป็นกันเอง อยู่ริมแม่น้ำโขง รสชาติอาหารอร่อย บริหารงานโดยคุณรุจิรา ทองรัศมี

ชื่อร้าน

ร้านลมโชยปลาเผา

ที่อยู่

ถนนริมโขง อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย 43140

เบอร์โทรศัพท์

083-1515403

เวลาให้บริการ

08:00-18:00 น.

ประเภทอาหาร

ส้มตำ ปลาเผา

เมนูแนะนำ

เมี่ยงปลาเผา, ส้มตำ, ลาบปลาน้ำโขง, ต้มยำปลาน้ำโขง, หมกพุงปลา

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การแข่งเรือยาวประเพณีไทย-ลาว ครั้งที่ 12 ประจำปี 2554



รายชื่อเรือเข้าร่วมการแข่งขัน เรือยาวขนาดใหญ่ประเภททั่วไป 50 – 55 ฝีพาย

ลำดับ ชื่อเรือ ที่อยู่ เบอร์โทร หมายเหตุ
เรือภาคกลาง
1 เรือเทพนรสิงห์ 88(แชมป์เก่า) อ. เสาไห้ จ. สระบุรี
2 เรือเจ้าแม่ประดู่ทอง วัดสุวรรณราชหงส์ ต.องครักษ์ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
3 เรือศรทอง อบจ.พิจิตร อ.เมือง จพิจิตร
4 เรือชาละวันสิงห์ลีโอ อบต ไผ่ขวาง อ.เมือง จ.พิจิตร
5 เรืองเกรียงเดชรัต 7 หมู่ 2 ต. คุ้งพะยอม อ. บ้านโป่ง จ. ราชบุรี
6 เรือเทพธรรมรัต ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี
7 เรือเศรษฐีเรือทอง วัดพุน้อย อ.บ้านหมี่ จ. ลพบุรี

เรือภาคอีสาน อุดรธานี,สกลนคร,อุบลราชธานีมุกดาหาร , สุรินทร์, นครพนม,ศรีสะเกษ,บุรีรัมย์,ข่อนแก่น
8 เรือเทพแสนชัย วัดโพธิ์ไทร ต.บางทรายใหญ่ อ.เมือง จ.มุกดาหาร
9 เรือพรพระปิยะ วัดบ้านกุดชุม ต.หนองกินเพล อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
10 เรือปฐวีสยาม วัดโพธิ์พฤกษาราม บ้านท่าตูม อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์
11 เรือสาวชุมแพ วัดมหาชาติ บ.โพนสะทอน ต.กุดกว้าง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น
12 เรือเจ้าแม่คำไหล วัดสระพังทอง ต.หนองแวง อ.กันทรารมณ์ จ.ศรีสะเกษ

เรือเขตจังหวัดหนองคาย
13 เทศบาลบึงกาฬ เทศบาลตำบลบึงกาฬ ต. บึงกาฬ อ.บึงกาฬ จ. หนองคาย
14 เรือเอกชัยนาวา เทศบาลตำบลกวนวัน ต. กวนวัน อ. เมือง จ. หนองคาย
15 เรือเทพบุตรหงส์ทอง เทศบาลตำบลหาดคำ ต. หาดคำ อ. เมือง จ. หนองคาย
16 เรือเทพธิดาบัวหลวง ต. กวนวัน อ. เมือง จ. หนองคาย
17 เรือนครนาวา วัดประชาอุปภัมถ์ บ้านพราวเหนือ ต.กวนวัน อ.เมือง จ.หนองคาย
18 เรือเทพฤทธิ์ วัดศาสนกิจ บ้านสะเงียว ต. กวนวัน อ. เมือง จ.หนองคาย

เรือภาคตะวันออก
19 เรือยุทธการนาวา หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ อ. สัตหีบ จ. ชลบุรี
เรือจาก สปป.ลาว
20 เรือเจ้าพ่อคำแดง บ้านกล้วย เมืองปากชัน แขวง บลิคำไซ สปป.ลาว
21 เรือแขวงบลิคำไซ แฃวงบลิคำไซ

เรือยาวใหญ่ประเภทภายในจังหวัดบึงกาฬ 50-55 ฝีพาย

1 เรือพระยาคำแสน(แชมป์เก่า) วัดใต้ ต. บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จ. บึงกาฬ
2 เรือเจ้าพ่อจงใจหาญ บ้านนาโนน ต. บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ
3 เรือ ว.เพชรนารินทร์ วัดเหนือ ต. วิศิษฐ์ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ
4 เรือศรพราช วัดกลาง ต. บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จ. หนองคาย
5 เรือจ้าววายุ วัดป่าวิมุติตาราม บ้านโนนสว่าง ต.บึงโขงหลง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ
6 เรือพรพระใส บ้านหอคำ ต.หอคำ อ.บึงกาฬ จ. บึงกาฬ


เรือยาวเล็กประเภทภายในจังหวัดบึงกาฬ 20 - 25 ฝีพาย
1 เรือเทพบุตรหอคำ บ้านหอคำ ต. หอคำ อ. บึงกาฬ จ. บึงกาฬ
2 เรือเทพราชพฤษ บ.ชัยพร หมู่ 1 ต.ชัยพร อ. บึงกาฬ จ. บึงกาฬ
3 เรือเทพโชติรส บ้านบึงสวรรค์ ต. บึงกาฬ อ. บึงกาฬ จ. บึงกาฬ
4 เรือประทีปนาวา บ้านไคสี ต. ไคสี อ. บึงกาฬ จ. บึงกาฬ
5 เรือขุนศึก วัดโพธาราม บ้านท่าไคร้ อ.บึงกาฬ จ. บึงกาฬ
6 เรือขุนหารนาวา บ้านนาโนน ต. บึงกาฬ อ. บึงกาฬ จ. บึงกาฬ
7 เรือสิงหราช วัดศรีโสภณธรรมทาน (วัดใต้) ต. บึงกาฬ อ. บึงกาฬ จ. บึงกาฬ
8 เรือเทพณรงค์ วัดป่าวิมุตาราม บ้านโนนสว่าง อ. บึงโขงหลง จ. บึงกาฬ
9 เรือเทพเทวี เทศบาลตำบลท่าสะอาด ต.ท่าสะอาด อ. เซกา จ. บึงกาฬ
10 เรือเทพเรืองฤทธิ์ บ้านคำบอน ต.น้ำจั้น อ. เซกา จ. บึงกาฬ
11 เรือนิโคนาวา วัดนิโคธาราม บ.หาดแฮ่ ต.โคกกว้าง อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ
12 เรือเอกภพนาวา วัดสว่างพัฒนา บ.นากั้งพัฒนา ต.นากั้ง อ.ปากคาด จ.บึงกาฬ
13 เรือหงส์ประเสริฐ บ.สุขประเสริฐ ต.นากั้ง อ.นากั้ง อ.ปากคาด จ.บึงกาฬ
14 เรือเทพธิดาดอย วัดจันทร์เดชราษฎร์บำรุง บ.บุ้งคล้าทุ้ง อ.บุ้งคล้า จ.บึงกาฬ

เรือเล็ก 20 – 25 ฝีพาย สปป. ลาว

ลำดับ ชื่อเรือ ที่อยู่ เบอร์โทร หมายเหตุ
17 เรือธิดาสว่างลาด บ้านปากทวย เมืองท่าพระบาด แขวงบลิคำไซ สปป. ลาว
18 เรือธิดาสามนาง บ้านหางชิง เมืองปากชัน แขวงบลิคำไซ สปป.ลาว
19 เรือธิดาแก้วฟ้าหยาด บ้านทวยใหญ่ เมืองท่าพระบาด แขวงบลิคำไซ สปป.ลาว
20 เรือเจ้าสินไซ บ้านน้ำเงียบ เมืองปากชัน แขวงบลิคำไซ สปป.ลาว
21 เรือมังกรทอง บ้านท่าบก เมืองท่าพระบาด แขวงบลิคำไซ สปป.ลาว
22 เรือกุหลาบแดง บ้านกล้วย เมืองปากชัน แขวงบลิคำไซ สปป.ลาว
21 เรือเจ้าพ่อหงษ์ทอง บ้านนาจิก เมืองปากชัน แขวงบลิคำไซ สปป.ลาว


วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดบึงกาฬ


เป็นแก่งหินกลางลำน้ำโขง บริเวณหน้าวัดอาฮงศิลาวาส บ้านอาฮง ตำบลหอคำ ถือว่าเป็นจุดที่แม่น้ำโขงมีความลึกที่สุดไม่สามารถวัดความลึกได้ กระแสน้ำบริเวณแก่งอาฮงจะไหลเชี่ยวมากในฤดูน้ำหลากและมีกระแสน้ำไหลวนเป็น รูปกรวยขนาดใหญ่ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็น “สะดือแม่น้ำโขง” แม่น้ำโขงบริเวณแก่งอาฮงมีความกว้างประมาณ 300 เมตร ในฤดูน้ำลด และมีความกว้าง 400 เมตร ในฤดูน้ำหลาก และจะสามารถมองเห็นแก่งได้ในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคมของทุกปี และกลุ่มหินที่ปรากฎบริเวณแก่งอาฮงจะมีชื่อเรียกตามลักษณะของหิน เช่น หินลิ้น นาค หินปลาเข้ ถ้ำปลาสวาย นอกจากจะเป็นแหล่งพักผ่อนและสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอบึงกาฬและเป็นสถานที่ เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือ“บั้งไฟพญานาค” ในช่วงประเพณี ออกพรรษา จะมีนักท่องเที่ยวมาพักเที่ยวชมปรากฏการณ์ธรรมชาติ ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค บริเวณบ้านอาฮงเป็นจำนวนมาก จะมีมากในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ที่ปฏิทินไทย กับปฏิทินประเทศ สปป.ลาวตรงกัน และชาวบ้านโดยรอบยังอาศัยทำการประมงด้วย

อ้างอิงจากhttp://www.bungkan.com

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดบึงกาฬ


เจ้าแม่สองนาง




ประวัติความเป็นมา ผู้เรียบเรียงประวัติของเจ้าแม่สองนาง ได้เขียนได้ดังนี้ ตามที่ได้รับฟังคำบอกเล่าจากผู้เฒ่ามาคือ พ่อตู้จ้ำนาค สุริยะกาญจน์ (จ้ำ หมายถึง คนดูแลศาลเจ้า) และพ่อตู้เฮือง ผิวเฟื่อง (ปัจจุบันอยู่คุ้มเหนือ) เล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 2137 เกิดศึกฮ่อ ได้ขับไล่คนไทยออกจากลุ่มแม่น้ำโขง ลงมาทางตอนใต้ พวกเผ่าพันธุ์ไทยเดิมก็อพยพลงมาตามแม่น้ำโขง มาปักหลักอยู่หลายแห่ง แบ่งกันอยู่คนละมุมตามลุ่มแม่น้ำโขงในช่วงอพยพลงมา ในช่วงอพยพลงมา พ่อตู้พรมก็ได้เสียเมียรักไปด้วยโรคอหิวาห์ ในกลางทาง เหลือแต่ลูกสาวสองคน คือ นางสมสี และนางบัวลี จึงเดินทางต่อลงมาในเขตชัยบุรี (อ.บึงกาฬ ปัจจุบัน)

พ่อพรมเป็นผู้มีวิชาอาคมแก่กล้า ก็ไปอยู่ดอนหอทุ่ง(กุดทิง ปัจจุบัน) ให้ลูกสาวสองคนอยู่ที่หนองบึงกาฬ แต่สองคนไม่ยอมแต่งงานขออยู่เป็นโสดตลอดไป ต่อมาผู้เป็นพ่อก็เสียชีวิตลง ลูกทั้งสองก็เอาศพไว้ ณ ที่ดอนหอทุ่ง (กุดทิงปัจจุบัน) สองคนพี่น้อง นางสมสี และนางบัวลี ก็ล้มป่วยลงเพราะขาดแม่ ขาดพ่อ ได้เอาสุสานไปเก็บไว้บริเวณบ้านของตู้จารย์มา ต้นหาบึ้ง (ที่ธนาคารกสิกรไทย) หลังจากนั้นมา เมื่อปี 2498 ได้ย้ายศาลมาอยู่ที่มุมทางเข้า รพ. ปัจจบัน และได้ย้ายศาลเจ้าแม่สองนางมาอยู่ที่ปัจจุบัน จนทุกวันนี้

เจ้าแม่สองนางเป็นศาลอันศักดิ์สิทธิ์ทั่วสารทิศผู้คนไปมาได้กราบไหว้บูชา ขอพรให้เจริญรุ่งเรือง บริเวณที่สร้างศาลเจ้าแม่สองนางปัจจุบันแต่ก่อนมีต้นพุทราอยู่สองต้นลูกดก ทางราชการต้องการย้ายศาลเจ้าแม่สองนางไปที่อื่น พอไปดูทางโหราศาสตร์ แล้วบอกว่า ย้ายไม่ได้ขออยู่ที่เดิม เพราะมองเห็นแม่น้ำโขงตลอดทั้งปี



อ้างองข้อมูลมาจาก bungkan.com

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดบึงกาฬ






วัดอาฮงศิลาวาส



วัดอาฮงศิลาวาส ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ บ้านอาฮง ตำบลไคสี อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ห่างจากตัวอำเภอบึงกาฬ 21 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดหนองคาย 115 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ คือ

ทิศเหนือ ติดกับ แม่น้ำโขงบริเวณแก่งอาฮง

ทิศใต้ ติดกับ ถนนมิตรภาพเส้นทาง หนองคาย- นครพนม

ทิศตะวันออก ติดกับ ห้วยอีเต่าและเขตบ้านไคสี

ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านอาฮง



วัดอาฮงศิลาวาส เป็นวัดเก่าแก่แต่ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่า เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อใด จากคำบอกเล่า ทราบแต่เพียงว่าเดิมเป็นสำนักสงฆ์ และเนื่องจากวัดตั้งอยู่ในป่าที่รกทึบ จึงเรียกว่า “วัดป่า” โดยหลวงพ่อลุน เป็นผู้ก่อตั้ง ท่านได้มรณะไปเมื่อปี พ.ศ. 2506 ด้วยโรคชรา หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีพระภิกษะสงฆ์มาจำพรรษาอีกเลย หากจะมีบ้างก็เป็นเพียง พระธุดงค์ที่จาริกผ่านมาพักบำเพ็ญเพียรภาวนาชั่วครั้งชั่วคราวแล้วก็จากไป สภาพวัดในสมัยนั้นแทบเรียกว่าวัดร้าง แต่ถึงแม้ไม่มีพระสงฆ์ จำพรรษาก็ยังมีคุณยายชีท่านหนึ่ง ซึ่งนับว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวบ้านอาฮงคอยเฝ้ารักษาดูแล



จนกระทั่งปี พ.ศ. 2517 พระนิเทศศาสนคุณ (ท่านเจ้าคุณหลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ) สมัยนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส วัดบุญเรืองสุวรรณาราม บ้านคำโป้งเป้ง ต.ค่ายบกหวาน อ. เมือง จ. หนองคาย ได้เดินทางไปกราบนมัสการพระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ วัดเจติยาวิหาร (ภูทอก) ขากลับเห็นป้ายชื่อวัดจึงได้แวะเข้ามาดู พบเพียงแม่ชีแก่ๆ คนหนึ่ง ไม่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา ท่านจึงได้ซักถามถึงประวัติความเป็นมา แม่ชีได้เล่าถวายโดยละเอียด ประกอบกับท่านได้เดินตรวจตราสภาพวัดโดยรอบเห็นว่าสถานที่มีความศักดิ์สิทธิ์ สงบ ร่มรื่น เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนา ของพระภิกษุสงฆ์ สมควรจะได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ เมื่อกลับถึงหนองคาย ท่านได้นำเรื่องนี้ไปปรึกษากับพระลูกวัดและญาติโยมซึ่งทั้งหมดก็เห็นสมควรเช่นเดียวกับท่านด้วย หลวงพ่อจึงพาคณะศรัทธา มาที่วัดป่าแห่งนี้ พร้อมทั้งได้ประชุมกับชาวบ้านอาฮงในเรื่องการบูรณะวัด ซึ่งเมื่อชาวบ้านได้ทราบดังนั้นแล้วต่างก็พากันยินดีพร้อมทั้งอนุโมทนาสาธุกับหลวงพ่อ และได้ดำเนินงานทันทีในวันต่อมา โดยปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม สร้างศาลากุฎี และสาธารณะประโยชน์อื่นๆ ที่มีความจำเป็น หลวงพ่อได้จัดภิกษุสามเณรให้อยู่จำพรรษา โดยมีหลวงพ่อเมธา จิตฺกาคุตโตเป็นเจ้าอาวาส และตั้งชื่อใหม่ว่า “วัดอาฮงศิลาวาส”

นับแต่ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา วัดก็ได้รับการบูรณะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทว่าเมื่อปี พ.ศ. 2524 หลวงพ่อสมานได้รับการแต่งตั้งเป็นพระธรรมฑูต เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนั้นการพัฒนาวัดจึงหยุดชะงักล่าช้าไปบางส่วน แต่ก็ยังมีการปรับปรุงตลอดเวลาจนปีพ.ศ. 2537 หลวงพ่อสมานได้เดินทางกลับมาประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง จึงได้ดำเนินการสานต่อ เพื่อให้วัดอาฮงศิลาวาสมีความเรียบร้อยสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น


การบูรณะวัด พัฒนาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างถาวรวัตถุ รวมไปถึงการตกแต่งสถานที่ภายในวัด ได้อาศัยแรงกาย แรงใจ พร้อมทั้งจตุปัจจัย จากศรัทธาญาติโยม ที่มาจากทั่วสารทิศ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ในส่วนของประเทศไทยนั้น นอกจากจะอาศัยศรัทธาประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตจังหวัดหนองคายแล้ว ศาสนูปถัมภกคนสำคัญที่ได้อุปถัมป์วัดด้วยดียิ่งตลอดมา คือท่าน ดร.วิญญู – คุณมาลิน คุวานันท์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท โค้วหยู่ฮะมอเตอร์ จำกัด รวมทั้งบริษัท ในเครือ ท่านได้ช่วยเหลือในด้านต่างๆ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างถาวรวัตถุและสาธารณะประโยชน์อื่นๆ ภายในวัด ได้แก่วิหาร ศาลา ห้องน้ำ บ้านพักรับรอง ถนน เป็นต้น นอก จากนี้ท่านยังได้ถวายพระพุทธรูปเพื่อเป็นพุทธบูชา ขนาดหน้า ตักกว้าง 4 เมตร สูง7 เมตร น้ำหนัก 20 ตัน นามว่า “พระพุทธ คุวานันท์ศาสดา” ซึ่งมีความงดงามตระการตาด้วยว่าเป็นพระ พุทธรูปลักษณะเดียวกับพระพุทธชินราช หล่อด้วยทองเหลืองโดยพระนิเทศศาสนคุณ (หลวงพ่อสมาน สิริปัญโณ) ได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 109 รูป ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เบิกเนตร เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2542 นับจากนั้นเป็นต้นมา วัดก็มีความเจริญรุ่งเรือง และเรียบร้อยสมบูรณ์เป็นลำดับ


วัดอาฮงศิลาวาส ตั้งอยู่ในจุด ภูมิศาสตร์ที่เรียกได้ว่ามีความโดดเด่นหลายประการ ทั้งยังมี เรื่องเล่าขานเป็นตำนานเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนา คือ เมื่อ ครั้งพุทธกาล หรือ ประมาณ 2,500 กว่าปีล่วงมา สมเด็จพระ บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จจำพรรษา เหล่าเทพเทวาได้พากันเนรมิตบันไดเงิน บันไดทอง เพื่อรองรับเบื้องพระบาทบทมาลย์ในการเสด็จกลับยังโลกมนุษย์ และด้วยพระมหากรุณาธิคุณอย่างที่สุด พระองค์ ได้หยุดอยู่ท่ามกลางพร้อมผายพระกรทั้งสองข้าง เปิดให้โลกทั้งสาม คือ สวรรค์ มนุษย์ นรก ได้มองเห็นกัน ส่วนเหล่าพญานาคนั้นได้พากันสำแดงฤทธิ์พ่น ไฟถวายเป็นพุทธบูชา เพื่อต้อนรับการกลับมาขององค์พระพุทธชินสีห์ เรื่องนี้จึงเป็นที่มาของ “บั้งไฟพญานาค”


นอกจากนี้ จุดที่ลึกที่สุดของแม่น้ำโขงตลอดทั้งสาย ซึ่งมีความยาววัดได้ ประมาณ 4,590 กม. ก็คือ บริเวณแก่งอาฮงนี้เอง คนเฒ่าคนแก่เคยวัดความลึกโดยใช้เชือกผูกกับก้อนหินหย่อนลงไป วัดได้ 98 วา ในหน้าแล้งคือช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน วัดได้ 40 – 50 วา เนื่องจากแก่งอาฮงเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่และเป็นแก่งหินกว้างจากฝั่งไทยถึงฝั่งลาวประมาณร้อยกว่าเมตร จึงยากที่จะสังเกตให้รู้ได้ ดังนั้นหากท่านใดอยากจะทราบว่าบริเวณใดเป็นจุดที่ลึกที่สุด หรือเรียกกันว่า “สะดือแม่น้ำโขง” นั้นให้สังเกตได้บริเวณหน้าพระอุโบสถ ลักษณะจะเป็นคุ้งน้ำที่มีกระแสไหลวน กินบริเวณกว้าง เห็นได้ชัดในฤดูน้ำหลาก เพราะน้ำจะไหลเชี่ยววนจนเป็นหลุมรูปกรวย และถ้ามีเศษไม้ ต้นไม้ หรือวัตถุใดๆ ลอยมาก็จะไหลวนอยู่บริเวณนี้ประมาณ 20-30 นาที จึงค่อยหลุดไปบางครั้งติดค้างอยู่ริมตลิ่งก็มี กล่าวกันว่าถ้ามีคนตกน้ำตกตายเหนือแก่งอาฮงขึ้นไป ไม่ว่าที่ใด หากหาศพไม่พบ ก็จะหาได้ที่แก่งอาฮง เชื่อกันว่าศพจะไหลไม่พ้นแก่งอาฮง เพราะตกลงไปในจุดที่เป็นคุ้งน้ำไหลวนและเป็นจุดที่ลึกที่สุดของแม่น้ำโขงนั่นเอง ทั้งยังเป็นที่อยู่อาศัยของปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก นั่นก็คือ ปลาบึก ในตอนดึกของฤดูน้ำหลาก จะได้ยินเสียงจากแม่น้ำโขงประหนึ่งว่าคนลงเล่นน้ำ เสียงดังตูมตามประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง ก็จะเงียบหายไป ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า เสียงนั้นคือ ปลาบึกผสมพันธุ์กัน ด้วยในบริเวณนั้นมีความลึก และปลาบึกกินตระไคร้น้ำเป็นอาหาร ใต้น้ำบริเวณแก่งอาฮงนั้นมีโขดหินมากมายและมีถ้ำใหญ่ ระบบนิเวศวิทยาเรียกได้ว่ามีความสมบูรณ์จึงเป็นแหล่งที่มีปลาบึกชุกชุมอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย



ปัจจุบันวัดอาฮงศิลาวาส เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดบึงกาฬ ที่มีผู้แวะเวียนเข้ามาพักผ่อนหย่อนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ภายใต้ร่มบวร นิเวศน์แห่งนี้จึงเป็นที่พักกายพิงใจ และเป็นอุทยานการศึกษา ที่ให้ความรู้ อันจะเป็นมรดกตกทอดไปสู่ชนคนรุ่นหลัง ทว่า สิ่งสำคัญเหนืออื่นใดนั่นก็คือการได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ให้รุ่งเรืองวัฒนาตลอดกาลนาน






อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.bungkan.com


วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเดินทางไปยังจังหวัดบึงกาฬ




การเดินทางเข้าสู่จังหวัดบึงกาฬสามารถเดินทางได้หลายทางดังนี้

Camaro icon1.รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดสระบุรี (ที่นี่เป็นที่มาของ คำพูด “สระบุรีเลี้ยวขวา”) แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านจังหวัดนครราชสีมา-จังหวัดขอนแก่น- จังหวัดอุดรธานี-จนถึงจังหวัดหนองคายและจากหนองคายสู่อำเภอบึงกาฬ โดยจะผ่านอำเภอโพนพิสัย กิ่งอำเภอรัตนวาปี อำเภอปากคาด รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 751 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยประมาณ (ประมาณ 11 ชั่วโมง 4 นาที)


bus icon2. รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศ
- จากบริษัทขนส่งจำกัด http://www.transport.co.th/โทรศัพท์ : 02 – 936 – 2841 – 48, 02 – 936 – 2852 – 66 ต่อ 442, 311
- บริษัท แอร์อุดร จำกัด http://airudon.comze.com/ได้นำรถที่มีมาตรฐาน ระดับ วี.ไอ.พี. มาให้บริการ โดยสำรองที่นั่ง กรุงเทพฯ โทร 02 936 2735 อุดรธานี โทร 042 245 789 สถานที่จำหน่ายตั๋วอาคารหมอชิต 2 ชั้น 3 ช่องจำหน่ายตั๋ว 55 และ 118 (หลังประชาสัมพันธ์ ชั้น 3)
- บริษัท 407 พัฒนา ให้บริการด้วยรถปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 ชนิด ม.1ข ,ม.4ข ,ม.1พ ,ม.2 ให้บริการรถสาย กรุงเทพฯ หนองคาย บึงกาฬ บุ่งคล้า, กรุงเทพฯ กุมภวาปี บึงกาฬ ,ระยอง-ขอนแก่น-พังโคน-บึงกาฬ
และยังมีรถบริษัทเอกชนหลายแห่ง จัดรถวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยเริ่มจากสถานีขนส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร หรือที่รู้จักในนาม “หมอชิต2″ และจากตัวจังหวัดอุดรธานีก็จะมีรถธรรมดาวิ่งมาจากสาย 224 อุดร-นครพนม หรือสาย 225 อุดร –นครพนมวิ่งผ่านทางจังหวัดสกลนคร ทุกวัน ดูรายละเอียดการเดินรถทัวร์ทั่วประเทศได้จาก เว็บรถทัวร์ไทย.คอม http://www.rottourthai.com/


tram icon3. รถไฟ
มีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ-หนองคาย และขบวนรถด่วนดีเซลราง กรุงเทพ – อุดรฯ ทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1690, 0 2223 7010,0 2223 7020 www.railway.co.th สถานีรถไฟหนองคาย โทร. 0 4241 1592


plane icon4. เครื่องบิน
สามารถไปได้โดยลงที่สนามบินจังหวัดอุดรธานี รายละเอียดสอบถามได้ที่บริษัทการบินไทย จำกัดhttp://www.thaiairways.co.th/ ศูนย์สำรองที่นั่ง 023561111
สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 http://www.airasia.com/th/th/home.html
สายการบินนกแอร์
www.nokair.com Call us Nok Air at 1318 or +662- 900-9955


อ้างอิงจากhttp://www.bungkan.com

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554





คำขวัญประจำจังหวัด

”สองนางศาล ศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่
แหล่งน้ำใสหนองกุดทิง สุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว
หาดทรายขาวเป็นสง่า น่าทัศนาแก่งอาฮง
งามน้ำโขงที่บึงกาฬ สุขสำราญที่ได้ยล”



23 มีนาคม 2554 [B]บึงกาฬได้แจ้งเกิดเป็นจังหวัดที่ 77[/B] ของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ถ้วนกระบวนความทางกฎหมาย และได้มีการจัดฉลองการเปิดประตูเมือง ”บึงกาฬ”อย่างยิ่งใหญ่ ภายหลังผ่านการลงพระปรมาภิไธย และประกาศราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554

โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอพรเจริญ อำเภอโซ่พิสัย อำเภอเซกา อำเภอปากคาด อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ภายใต้พื้นที่ทั้งหมด 4,305 ตร.กม. และมีประชากรอาศัยอยู่เกือบ 4 แสนคน ท่ามกลางความพร้อมเรื่องสาธารณูปโภคทั้งศาลากลาง อำเภอ สำนักงานอัยการ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ แขวงการทาง สถานีตำรวจน้ำ


คำว่า ”บึงกาฬ” หมายถึงบึงที่มีสีดำ โดย กาฬ มาจากคำว่า นิลกาฬ ซึ่งเป็นพลอยชนิดหนึ่งที่มีสีดำ (พลอยนิลกาฬ)







บึงกาฬ เดิมทีมีสถานะเป็นแค่ อ.บึงกาฬ ที่แยกเขตการปกครองมาจากจังหวัดหนองคาย
มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างห่างไกลจากตัวเมืองไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ หนองคายถึง 136 กิโลเมตร ประกอบกับมีอาณาเขตเป็นแนวยาว ติดต่อกับแขวงบริคำไชย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงไหลกั้นพรมแดน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ภูมิอากาศที่จังหวัดบึงกาฬค่อนข้างดี ผลจากแม่น้ำโขงทำให้ไม่ร้อนมากในช่วงหน้าร้อน ส่วนหน้าหนาวก็อากาศดีเหมาะแก่การท่องเที่ยวและพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญๆ

นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมที่บึงกาฬ ก็ยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์ แวดล้อมไปด้วยภูเขา น้ำตกที่สวยงาม เช่น น้ำตกเจ็ดสี, น้ำตกตากชะแนน ที่อยู่ภายในอุทยานแห่งชาติภูวัว อีกทั้งอำเภอบึงกาฬยังมีส่วนที่ติดกับแม่น้ำโขง ตลอดริมแนวชายฝั่ง

สถานที่สำคัญของ จังหวัดบึงกาฬ
เจ้าแม่สองนาง หลวงพ่อใหญ่ วัดโพธาราม หนองกุดทิง(พื้นที่ชุ่มน้ำ) หาดทรายบึงกาฬ โรงเรียนบึงกาฬ วัดอาฮง องการบริหารส่วนตำบลบึงกาฬ โรงพยาบาลบึงกาฬ ศาลจังหวัดบึงกาฬ ฯลฯ










อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.baanpud.net/forum/viewtopic.php?f=20&t=2729


วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของบึงกาฬ

อำเภอเมืองบึงกาฬ เป็นอำเภอซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการบริหารราชการของจังหวัดบึงกาฬ มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง มีน้ำตก มีภูเขา เป็นอำเภอที่มีเขตพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง และอีกฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขงจะเป็นประเทศเพื่อนบ้าน (ลาว) มีการคมนาคมสะดวก

ในอดีตอำเภอเมืองบึงกาฬ มีชื่อเดิมว่า ชัยบุรี (เมืองไชยบุรี) ขึ้นกับจังหวัดนครพนม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2460 ได้ถูกโอนย้ายให้ขึ้นต่อจังหวัดหนองคาย และถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บึงกาฬ ในปี พ.ศ. 2482 [2]

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการร้องขอให้จัดตั้งเป็นจังหวัดบึงกาฬ ตามข้อเสนอของนายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย โดยแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย แต่กระทรวงมหาดไทย ยังไม่มีแผนที่จะยกฐานะอำเภอบึงกาฬขึ้นเป็นจังหวัด เพราะการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนภาครัฐซึ่งขัดมติคณะรัฐมนตรี[3]

จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2553 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ส.ส.สัดส่วน พรรคกิจสังคมได้ตั้งกระทู้ถามสดต่อนายกรัฐมนตรี เรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ และทางกระทรวงมหาดไทยเห็นด้วย กำลังอยู่ในกระบวนการนำเข้าเสนอต่อที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนส่งเรื่องเข้ามาสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอเป็นกฎหมายพ.ร.บ.จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ[4] และในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ[5]

เมื่อมีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้นตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อำเภอบึงกาฬจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอเมืองบึงกาฬ" ตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้อนไป

อ้างอิงข้อมูงจาก http://th.wikipedia.org


Spirit of Asia - บึงกาฬ จังหวัดที่ 77 16Jan11 2/2

Spirit of Asia - บึงกาฬ จังหวัดที่ 77 16Jan11 1/2

บึงกาฬน่าเที่ยว