ไปบึงกาฬกันไหม

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเดินทางไปยังจังหวัดบึงกาฬ




การเดินทางเข้าสู่จังหวัดบึงกาฬสามารถเดินทางได้หลายทางดังนี้

Camaro icon1.รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดสระบุรี (ที่นี่เป็นที่มาของ คำพูด “สระบุรีเลี้ยวขวา”) แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านจังหวัดนครราชสีมา-จังหวัดขอนแก่น- จังหวัดอุดรธานี-จนถึงจังหวัดหนองคายและจากหนองคายสู่อำเภอบึงกาฬ โดยจะผ่านอำเภอโพนพิสัย กิ่งอำเภอรัตนวาปี อำเภอปากคาด รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 751 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยประมาณ (ประมาณ 11 ชั่วโมง 4 นาที)


bus icon2. รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศ
- จากบริษัทขนส่งจำกัด http://www.transport.co.th/โทรศัพท์ : 02 – 936 – 2841 – 48, 02 – 936 – 2852 – 66 ต่อ 442, 311
- บริษัท แอร์อุดร จำกัด http://airudon.comze.com/ได้นำรถที่มีมาตรฐาน ระดับ วี.ไอ.พี. มาให้บริการ โดยสำรองที่นั่ง กรุงเทพฯ โทร 02 936 2735 อุดรธานี โทร 042 245 789 สถานที่จำหน่ายตั๋วอาคารหมอชิต 2 ชั้น 3 ช่องจำหน่ายตั๋ว 55 และ 118 (หลังประชาสัมพันธ์ ชั้น 3)
- บริษัท 407 พัฒนา ให้บริการด้วยรถปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 ชนิด ม.1ข ,ม.4ข ,ม.1พ ,ม.2 ให้บริการรถสาย กรุงเทพฯ หนองคาย บึงกาฬ บุ่งคล้า, กรุงเทพฯ กุมภวาปี บึงกาฬ ,ระยอง-ขอนแก่น-พังโคน-บึงกาฬ
และยังมีรถบริษัทเอกชนหลายแห่ง จัดรถวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยเริ่มจากสถานีขนส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร หรือที่รู้จักในนาม “หมอชิต2″ และจากตัวจังหวัดอุดรธานีก็จะมีรถธรรมดาวิ่งมาจากสาย 224 อุดร-นครพนม หรือสาย 225 อุดร –นครพนมวิ่งผ่านทางจังหวัดสกลนคร ทุกวัน ดูรายละเอียดการเดินรถทัวร์ทั่วประเทศได้จาก เว็บรถทัวร์ไทย.คอม http://www.rottourthai.com/


tram icon3. รถไฟ
มีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ-หนองคาย และขบวนรถด่วนดีเซลราง กรุงเทพ – อุดรฯ ทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1690, 0 2223 7010,0 2223 7020 www.railway.co.th สถานีรถไฟหนองคาย โทร. 0 4241 1592


plane icon4. เครื่องบิน
สามารถไปได้โดยลงที่สนามบินจังหวัดอุดรธานี รายละเอียดสอบถามได้ที่บริษัทการบินไทย จำกัดhttp://www.thaiairways.co.th/ ศูนย์สำรองที่นั่ง 023561111
สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 http://www.airasia.com/th/th/home.html
สายการบินนกแอร์
www.nokair.com Call us Nok Air at 1318 or +662- 900-9955


อ้างอิงจากhttp://www.bungkan.com

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554





คำขวัญประจำจังหวัด

”สองนางศาล ศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่
แหล่งน้ำใสหนองกุดทิง สุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว
หาดทรายขาวเป็นสง่า น่าทัศนาแก่งอาฮง
งามน้ำโขงที่บึงกาฬ สุขสำราญที่ได้ยล”



23 มีนาคม 2554 [B]บึงกาฬได้แจ้งเกิดเป็นจังหวัดที่ 77[/B] ของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ถ้วนกระบวนความทางกฎหมาย และได้มีการจัดฉลองการเปิดประตูเมือง ”บึงกาฬ”อย่างยิ่งใหญ่ ภายหลังผ่านการลงพระปรมาภิไธย และประกาศราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554

โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอพรเจริญ อำเภอโซ่พิสัย อำเภอเซกา อำเภอปากคาด อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ภายใต้พื้นที่ทั้งหมด 4,305 ตร.กม. และมีประชากรอาศัยอยู่เกือบ 4 แสนคน ท่ามกลางความพร้อมเรื่องสาธารณูปโภคทั้งศาลากลาง อำเภอ สำนักงานอัยการ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ แขวงการทาง สถานีตำรวจน้ำ


คำว่า ”บึงกาฬ” หมายถึงบึงที่มีสีดำ โดย กาฬ มาจากคำว่า นิลกาฬ ซึ่งเป็นพลอยชนิดหนึ่งที่มีสีดำ (พลอยนิลกาฬ)







บึงกาฬ เดิมทีมีสถานะเป็นแค่ อ.บึงกาฬ ที่แยกเขตการปกครองมาจากจังหวัดหนองคาย
มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างห่างไกลจากตัวเมืองไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ หนองคายถึง 136 กิโลเมตร ประกอบกับมีอาณาเขตเป็นแนวยาว ติดต่อกับแขวงบริคำไชย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงไหลกั้นพรมแดน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ภูมิอากาศที่จังหวัดบึงกาฬค่อนข้างดี ผลจากแม่น้ำโขงทำให้ไม่ร้อนมากในช่วงหน้าร้อน ส่วนหน้าหนาวก็อากาศดีเหมาะแก่การท่องเที่ยวและพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญๆ

นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมที่บึงกาฬ ก็ยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์ แวดล้อมไปด้วยภูเขา น้ำตกที่สวยงาม เช่น น้ำตกเจ็ดสี, น้ำตกตากชะแนน ที่อยู่ภายในอุทยานแห่งชาติภูวัว อีกทั้งอำเภอบึงกาฬยังมีส่วนที่ติดกับแม่น้ำโขง ตลอดริมแนวชายฝั่ง

สถานที่สำคัญของ จังหวัดบึงกาฬ
เจ้าแม่สองนาง หลวงพ่อใหญ่ วัดโพธาราม หนองกุดทิง(พื้นที่ชุ่มน้ำ) หาดทรายบึงกาฬ โรงเรียนบึงกาฬ วัดอาฮง องการบริหารส่วนตำบลบึงกาฬ โรงพยาบาลบึงกาฬ ศาลจังหวัดบึงกาฬ ฯลฯ










อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.baanpud.net/forum/viewtopic.php?f=20&t=2729


วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของบึงกาฬ

อำเภอเมืองบึงกาฬ เป็นอำเภอซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการบริหารราชการของจังหวัดบึงกาฬ มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง มีน้ำตก มีภูเขา เป็นอำเภอที่มีเขตพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง และอีกฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขงจะเป็นประเทศเพื่อนบ้าน (ลาว) มีการคมนาคมสะดวก

ในอดีตอำเภอเมืองบึงกาฬ มีชื่อเดิมว่า ชัยบุรี (เมืองไชยบุรี) ขึ้นกับจังหวัดนครพนม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2460 ได้ถูกโอนย้ายให้ขึ้นต่อจังหวัดหนองคาย และถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บึงกาฬ ในปี พ.ศ. 2482 [2]

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการร้องขอให้จัดตั้งเป็นจังหวัดบึงกาฬ ตามข้อเสนอของนายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย โดยแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย แต่กระทรวงมหาดไทย ยังไม่มีแผนที่จะยกฐานะอำเภอบึงกาฬขึ้นเป็นจังหวัด เพราะการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนภาครัฐซึ่งขัดมติคณะรัฐมนตรี[3]

จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2553 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ส.ส.สัดส่วน พรรคกิจสังคมได้ตั้งกระทู้ถามสดต่อนายกรัฐมนตรี เรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ และทางกระทรวงมหาดไทยเห็นด้วย กำลังอยู่ในกระบวนการนำเข้าเสนอต่อที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนส่งเรื่องเข้ามาสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอเป็นกฎหมายพ.ร.บ.จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ[4] และในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ[5]

เมื่อมีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้นตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อำเภอบึงกาฬจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอเมืองบึงกาฬ" ตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้อนไป

อ้างอิงข้อมูงจาก http://th.wikipedia.org


Spirit of Asia - บึงกาฬ จังหวัดที่ 77 16Jan11 2/2

Spirit of Asia - บึงกาฬ จังหวัดที่ 77 16Jan11 1/2

บึงกาฬน่าเที่ยว