ไปบึงกาฬกันไหม

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554





คำขวัญประจำจังหวัด

”สองนางศาล ศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่
แหล่งน้ำใสหนองกุดทิง สุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว
หาดทรายขาวเป็นสง่า น่าทัศนาแก่งอาฮง
งามน้ำโขงที่บึงกาฬ สุขสำราญที่ได้ยล”



23 มีนาคม 2554 [B]บึงกาฬได้แจ้งเกิดเป็นจังหวัดที่ 77[/B] ของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ถ้วนกระบวนความทางกฎหมาย และได้มีการจัดฉลองการเปิดประตูเมือง ”บึงกาฬ”อย่างยิ่งใหญ่ ภายหลังผ่านการลงพระปรมาภิไธย และประกาศราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554

โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอพรเจริญ อำเภอโซ่พิสัย อำเภอเซกา อำเภอปากคาด อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ภายใต้พื้นที่ทั้งหมด 4,305 ตร.กม. และมีประชากรอาศัยอยู่เกือบ 4 แสนคน ท่ามกลางความพร้อมเรื่องสาธารณูปโภคทั้งศาลากลาง อำเภอ สำนักงานอัยการ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ แขวงการทาง สถานีตำรวจน้ำ


คำว่า ”บึงกาฬ” หมายถึงบึงที่มีสีดำ โดย กาฬ มาจากคำว่า นิลกาฬ ซึ่งเป็นพลอยชนิดหนึ่งที่มีสีดำ (พลอยนิลกาฬ)







บึงกาฬ เดิมทีมีสถานะเป็นแค่ อ.บึงกาฬ ที่แยกเขตการปกครองมาจากจังหวัดหนองคาย
มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างห่างไกลจากตัวเมืองไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ หนองคายถึง 136 กิโลเมตร ประกอบกับมีอาณาเขตเป็นแนวยาว ติดต่อกับแขวงบริคำไชย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงไหลกั้นพรมแดน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ภูมิอากาศที่จังหวัดบึงกาฬค่อนข้างดี ผลจากแม่น้ำโขงทำให้ไม่ร้อนมากในช่วงหน้าร้อน ส่วนหน้าหนาวก็อากาศดีเหมาะแก่การท่องเที่ยวและพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญๆ

นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมที่บึงกาฬ ก็ยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์ แวดล้อมไปด้วยภูเขา น้ำตกที่สวยงาม เช่น น้ำตกเจ็ดสี, น้ำตกตากชะแนน ที่อยู่ภายในอุทยานแห่งชาติภูวัว อีกทั้งอำเภอบึงกาฬยังมีส่วนที่ติดกับแม่น้ำโขง ตลอดริมแนวชายฝั่ง

สถานที่สำคัญของ จังหวัดบึงกาฬ
เจ้าแม่สองนาง หลวงพ่อใหญ่ วัดโพธาราม หนองกุดทิง(พื้นที่ชุ่มน้ำ) หาดทรายบึงกาฬ โรงเรียนบึงกาฬ วัดอาฮง องการบริหารส่วนตำบลบึงกาฬ โรงพยาบาลบึงกาฬ ศาลจังหวัดบึงกาฬ ฯลฯ










อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.baanpud.net/forum/viewtopic.php?f=20&t=2729


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น